วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564

ประวัติของซิกมันด์ ฟรอยด์

                                                   ซิกมันด์ ฟรอยด์


ประวัติของซิกมันด์ ฟรอยด์

        ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) จิตแพทย์ชาวออสเตรีย เชื้อสายยิว เกิดเมื่อวันที่ พฤษภาคม พ.ศ.2399 ในจักรวรรดิออสเตรียซึ่งปัจจุบันคือ สาธารณรัฐเช็ก และเสียชีวิตวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2482 รวมอายุ 83 ปี ครอบครัวมีอาชีพขายขนสัตว์ มีฐานะปานกลางซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) สนใจด้านวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเวียนนาสาขาวิทยาศาสตร์ แล้วเรียนต่อสาขาแพทยศาสตร์ จากนั้นได้ไปศึกษาต่อด้านโรคทางสมองและประสาทที่กรุงปารีสกับหมอผู้เชี่ยวชาญด้านอัมพาต ที่นั่นฟรอยด์ได้ค้นพบว่าความจริงแล้วคนไข้บางรายป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากภาวะทางจิตใจไม่ใช่ร่างกาย

         ฟรอยด์ชอบอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก จึงทำให้เขาฉลาดและสอบได้ที่ ทุกครั้ง เมื่ออายุได้ 17 ปี เขาสอบเข้าศึกษาต่อวิชาแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งกรุงเวียนนาได้ หลังจากเรียนจบเขาได้ค้นคว้าต่อทางด้านเซลล์สมอง และได้ไปศึกษาเกี่ยวกับโรคทางสมองและประสาทที่กรุงปารีสกับชาร์โก ซึ่งเป็นหมอรักษาคนไข้ที่เป็นอัมพาตอยู่นั่น             

       ฟรอยด์ได้พบว่าคนไข้บางรายป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากภาวะทางจิตใจไม่ใช่ทางร่างกาย เมื่อกลับมายังกรุงเวียนนา เขาตัดสินใจทำงานเป็นแพทย์ทางด้านสมองและประสาท และแต่งงานกับมาร์ธา เบิร์นเนย์ จนมีลูกด้วยกันถึง คน

       ฟรอยด์ได้พบคนไข้ที่เป็นอัมพาตเนื่องจากปัญหาทางจิตใจหลายราย เขาจึงใช้วิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ คือให้ผู้ป่วยเล่าถึงความคับข้องใจหรือความหวาดกลัวและพยายามให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุการณ์นั้น เพื่อลดความขัดแย้งในใจ ปรากฎว่ามีผู้ป่วยหลายรายหายจากการอัมพาตเมื่อรักษาด้วยวิธีนี้ ในตอนแรก มีผู้คัดค้านไม่ยอมรับ แต่ฟรอยด์ก็ได้ศึกษาและทดลอง จนผลงานของเขาเป็นที่ยอมรับทั่วไปในปี 1930

          อนึ่ง ฟรอยด์เป็นทั้งแพทย์และนักจิตวิทยา เป็นผู้บุกเบิกการศึกษาทางด้านจิตวิทยา ทฤษฎีต่างๆ ของเขาที่ค้นพบยังคงนำมาใช้รักษาโรคทางจิตอยู่ทุกวันนี้ เช่น ทฤษฎีบุคลิกภาพแบบจิตวิเคราะห์ ซึ่งกล่าวว่า พลังจิตใต้สำนึกมีผลต่อพฤติกรรมของแต่ละบุคคล และจำแนกบุคคลให้แตกต่างกัน 




ทฤษฎีของซิกมันด์ ฟรอยด์

   ใช้วิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) กับคนไข้ที่เป็นอัมพาต กล่าวคือให้ผู้ป่วยเล่าถึงความคับข้องใจหรือความหวาดกลัวและพยายามให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุการณ์นั้นๆ เพื่อลดความขัดแย้งในใจ ปรากฏว่ามีผู้ป่วยหลายรายหายจากอัมพาตซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้ศึกษาวิเคราะห์จิตใจของมนุษย์ และอธิบายว่า จิตใจทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์                                              

 ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)  แบ่งจิตออกเป็น ระดับดังนี้

1. จิตไร้สำนึก ( Unconscious Mind ) 

         การแสดงพฤติกรรมของมนุษย์โดยออกไปโดยไม่รู้ตัว ที่เกิดมาจากพลังของจิตไร้สำนึกซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงออกไปตามหลักแห่งความพึงพอใจของตน และการทำงานของจิตไร้สำนึกเกิดจากความปรารถนา หรือความต้องการของบุคคลที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก ที่ไม่ได้รับการยอมรับ เช่น การถูกห้าม หรือถูกลงโทษ จะถูกเก็บกดไว้ในจิตส่วนนี้

2. จิตสำนึก ( Conscious Mind )

             บุคคลรับรู้ตามประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่บุคคลจะมีการรู้ตัวตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่ คิดอย่างไรเป็นการรับรู้โดยทั่วไปของมนุษย์ ที่ควบคุมการกระทำส่วนใหญ่ให้อยู่ในระดับรู้ตัว (Awareness) และเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมา โดยมีเจตนาและมีจุดมุ่งหมาย

3. จิตก่อนสำนึก ( Preconscious Mind )

            เป็นส่วนของประสบการณ์ที่สะสมไว้ หรือเมื่อบุคคลต้องการนำกลับมาใช้ใหม่ก็สามารถระลึกได้และสามารถนำกลับมาใช้ในระดับจิตสำนึกได้ และเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ชิดกับจิตรู้สำนึกมากกว่าจิตไร้สำนึก


จะเห็นได้ว่าการทำงานของจิตทั้ง 3 ระดับจะมาจากทั้งส่วนของจิตไร้สำนึกที่มีพฤติกรรม ส่วนใหญ่เป็นไปตามกระบวนการขั้นปฐมภูมิ (
Primary Process)เป็นไปตามแรงขับสัญชาตญาณ ( Instinctual Drives ) และเมื่อมีการรับรู้กว้างไกลมากขึ้นจากตนเองไปยังบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม พลังในส่วนของจิตก่อนสำนึกและจิตสำนึก จะพัฒนาขึ้นเป็นกระบวนการขั้นทุติยภูมิ (Secondary Process)

ฟรอยด์เชื่อว่า มนุษย์มีสัญชาตญาณติดตัวมาแต่กำเนิด พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากแรงจูงใจหรือแรงขับพื้นฐานที่กระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรม คือ สัญชาตญาณทางเพศ (sexual instinct) 2 ลักษณะคือ

        1.  สัญชาตญาณเพื่อการดำรงชีวิต 

        2.  สัญชาตญาณเพื่อความตาย

        ฟรอยด์ได้กล่าวถึงพลังงานพื้นฐานทางจิตที่เรียกว่า Libido ซึ่งเกิดมาพร้อมกับมนุษย์ พลังงานเหล่านี้เป็นแหล่งของแรงขับทางเพศของบุคคลทั้งหมด โดยเน้นว่าชีวิตเพศของมนุษย์มิได้เริ่มเมื่อวัยหนุ่มสาว หากแต่เริ่มมาตั้งแต่เด็กและจะค่อยๆ พัฒนาเปลี่ยนรูปแบบเป็นลำดับขั้นขึ้นไป แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามขั้นจะมีการชะงัก (Fixation) หรือการถอยกลับ (Regression) ทำให้มีผลทะท้อนไปถึงบุคลิกภาพตอนโต


นอกจากนี้ ฟรอยด์ ยังได้ศึกษาถึงโครงสร้างทางจิตพบว่าโครงสร้างทางจิตหรือบุคลิกภาพประกอบด้วยดังนี้        

1. อิด (Id)    หมายถึงตัณหาหรือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ขัดเกลา ซึ่งทำให้ มนุษย์ทำทุก อย่างเพื่อความพึงพอใจของตนเองหรือทำตามหลักของความพอใจ (Pleasure principle) เปรียบเหมือนสันดานดิบของ มนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น สัญชาติญาณ แห่งการมีชีวิต (Life instinct) เช่น ความต้องการอาหาร ความต้องการทางเพศ ความต้องการหลีกหนีจากอันตราย กับสัญชาติญาณแห่ง ความตาย (Death instinct) เช่น ความก้าวร้าว หรือการทำอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เป็นต้น บุคคล จะแสดงพฤติกรรมตามความพอใจ ของเขาเป็นใหญ่ ไม่คำนึงถึงค่านิยมของสังคม และ ความพอใจของ บุคคลอื่นจึงมักเป็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามครรลองของมาตรฐานในสังคม บุคคลที่มีบุคลิกภาพเช่นนี้ มักได้รับการประณามว่ามีบุคลิกภาพไม่ดี หรือไม่เหมาะสม

 2. อีโก้ (Ego) หมายถึง ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ Id โดยอาศัยกฎเกณฑ์ ทางสังคม และหลักแห่งความจริง (Reality principle) มาช่วยในการตัดสินใจ ไม่ใช่แสดงออกตามความ พอใจของตนแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องคิดแสดงออกอย่างมีเหตุผลด้วยนั่นคือบุคคลจะแสดงพฤติกรรม โดยมีเหตุและผล ที่เหมาะสมกับกาลเทศะใน สังคม จึงเป็นบุคลิกภาพที่ได้รับการยอมรับมากในสังคม ในคนปรกติที่สามารถปรับตัวอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข ฟรอยด์ เชื่อว่าเป็นเพราะมีโครงสร้าง ส่วนนี้แข็งแรง  

 3. ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) หมายถึงมโนธรรมหรือจิตส่วนที่ได้รับการพัฒนาจากประสบการณ์ การอบรมสั่งสอน โดยอาศัยหลักของศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมต่าง ๆ ใน สังคมนั้น Superego จะเป็นตัวบังคับ และควบคุมความคิดให้แสดงออกในลักษณะที่เป็นสมาชิกที่ดีของ สังคม โดยยึดหลักค่านิยมของสังคม (Value principle) ที่ตัดสินว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีในสังคมกล่าวคือบุคคล จะแสดงพฤติกรรมตาม ขอบเขตที่สังคมวางไว้ แต่บางครั้งอาจไม่เหมาะ สม เช่น เมื่อถูกยุงกัดเต็มแขน - ขา ก็ไม่ยอมตบยุง เพราะกลัวบาป หรือสงสารคนขอทานให้เงินเขาไปจนหมด ในขณะที่ ตนเองหิวข้าวไม่มีเงินจะ ซื้ออาหารกินก็ยอมทนหิว เป็นต้น




ฟรอยด์ได้แบ่งขั้นพัฒนาการทางเพศไว้ 5 ขั้นตอน คือ

        1.  ขั้นปาก (Oral Stage) (แรกเกิด - 18 เดือน) ลิบิโดไปกระตุ้นบริเวณปาก การดูดจึงเป็นการลดภาวะเครียดของเด็ก แต่เด็กบางคนอาจเกิดภาวะติดค้างได้ ซึ่งอาจเนื่องจากการหย่านมด้วยวิธีการรุนแรง การมีน้องเร็ว การที่มารดามีภารกิจมาก เป็นต้น เมื่อบุคคลนี้เติบโตขึ้นก็อาจมีพฤติกรรมชอบกินเหล้า สูบบุหรี่ กินจุกจิก จู้จี้ขี้บ่น เป็นต้น

       2.  ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) (อายุ 1 ปี 6 เดือน - 3 ปี 6 เดือน) ลิบิโดไปกระตุ้นที่ทวารหนัก การกัก และการปล่อยอุจจาระจึงเป็นการลดภาวะเครียดของเด็ก แต่ถ้าผู้ใหญ่ที่เลี้ยงดูใช้วิธีการเข้มงวดในการฝึกวินัยในการขับถ่าย เด็กจะเกิดภาวะติดค้าง เมื่อโตขึ้นอาจมีนิสัยเผด็จการหรือไม่มีความพอดีในเรื่องความสะอาดและการใช้จ่าย


      3.  ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) (อายุ 3 ปี 6 เดือน - 6 ปี) ลิบิโดไปกระตุ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเด็กเริ่มสนใจความแตกต่างระหว่างเพศ จึงทำให้ชอบจับต้องอวัยวะเพศเล่น เป็นการลดภาวะเครียด แต่ผู้ใหญ่มักใช้ค่านิยมของตนไปตัดสินพฤติกรรมของเด็กว่าไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นการขัดขวางการลดภาวะเครียดของเด็ก ทำให้เด็กเกิดภาวะติดค้าง เมื่อโตขึ้นเด็กก็อาจจะชอบแสดงออกในเรื่องเพศ ชอบพูดจาสองแง่สองง่าม หรือให้ความสนใจต่อเรื่องเพศมากเป็นพิเศษ  ในขั้นนี้มีสิ่งสำคัญเกิดขึ้นคือ เด็กชายเกิดปมโอดิปุส (Oedipus Complex) และเด็กหญิงจะเกิดปมอีเลคตร้า (Electra Complex) ซึ่งหมายถึงความรู้สึกของเด็กชายที่รักและติดแม่ เด็กหญิงจะรักและติดพ่อ และเด็กชายจะเลียนแบบพ่อเพื่อให้เป็นที่รักของแม่    ส่วนเด็กหญิงจะเลียนแบบแม่เพื่อให้เป็นที่รักของพ่อ    อันส่งผลให้เริ่มมีบุคลิกภาพ      สอดคล้องกับเพศของตน     


      4.  ขั้นพัก หรือขั้นแฝง (Latency Stage) (อายุ 6 - 12 ปี) ขั้นนี้ถือได้ว่าเป็นการพัก แต่มิใช่ว่าไม่มีการกระตุ้นของลิบิโดแต่พฤติกรรมทางเพศเป็นไปอย่างสะเปะสะปะไม่อยู่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งโดยเฉพาะจึงไม่มีภาวะติดค้าง


        5.  ขั้นเพศ (Genital Stage) (อายุ 12 - 18 ปี) เป็นช่วงวัยรุ่น ลิบิโดจะไปกระตุ้นบริเวณอวัยวะเพศ และเป็นไปอย่างมี “วุฒิภาวะทางเพศ” กล่าวคือ พร้อมต่อการสืบพันธุ์ การลดภาวะเครียดจึงเป็นการบำบัดความใคร่ด้วยตนเอง (Masturbation) ทั้งนี้เนื่องจากสภาพทางสังคมยังไม่เอื้อต่อการให้บุคคลในวัยนี้มีคู่ครองทั้งๆ ที่มีความต้องการทางการสืบพันธุ์สูงมาก


องค์ประกอบที่มีส่วนในพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่ฟรอยด์ได้กล่าวไว้ มีดังนี้ 

1. วุฒิภาวะ หมายถึง ขั้นพัฒนาการตามวัย 

2. ความคับข้องใจที่เกิดจากความสมหวังไม่สมหวัง เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก 

3. ความคับข้องใจ เนื่องมาจากความขัดแย้งภายใน 

4. ความไม่พร้อมของตนเอง ทั้งทางด้านร่างกาย เชาว์ปัญญา การขาดประสบการณ์ 

5. ความวิตกกังวล เนื่องมาจากความกลัวหรือความไม่กล้าของตน 

          ฟรอยด์เชื่อว่า ความคับข้องใจเป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาการทางบุคลิกภาพ แต่ต้องมีจำนวนพอเหมาะที่จะช่วยพัฒนา Ego แต่ถ้ามีความคับข้องใจมากเกินไปก็จะเกิดปัญหาทำให้เกิดกลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) ซึ่งเป็นวิธีการปรับตัวในระดับจิตไร้สำนึก โดยฟรอยด์และบุตรสาว (แอนนา ฟรอยด์) ได้แบ่งประเภทกลไกการป้องกันตัว ได้แก่ 

1. การเก็บกด (Repression) หมายถึง การเก็บกดความรู้สึกไม่สบายใจหรือความรู้สึกผิดหวัง ความคับข้องใจไว้ในจิตใต้สำนึก 

2. การป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น (Projection) หมายถึง การลดความวิตกกังวล การป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น  

3. การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization) หมายถึง การปรับคัวโดยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง โดยให้คำอธิบายที่เป็นที่ยอมรับสำหรับคนอื่น 

4. การถดถอย (Regression) หมายถึง การหนีกลับไปอยู่ในสภาพอดีตที่เคยทำให้ตนมีความสุข 

5. การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง (Reaction Formation) หมายถึง กลไกป้องกันตน โดยการทุ่มเทในการแสดงพฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึกของตนเองที่ตนเองคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคมอาจจะไม่ยอมรับ 

6. การสร้างวิมานในอากาศหรือการฝันกลางวัน (Fantasy หรือ Day dreaming) กลไกป้องกันตัวประเภทนี้เป็นการสร้างจินตนาการหรือมโนภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ตนมีความต้องการ แต่เป็นไปไม่ได้ 

7. การแยกตัว (Isolation) หมายถึง การแยกตนให้พ้นจากสถานการณ์ที่นำความคับข้องใจมาให้ โดยการแยกตนออกไปอยู่ตามลำพัง 

8. การหาสิ่งมาแทนที่ (Displacement) เป็นการระบายอารมณ์โกรธหรือคับข้องใจต่อคนหรือสิ่งของที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุของความคับข้องใจ 

9. การเลียนแบบ (Identification) หมายถึง การปรับตัวโดยการเลียนแบบบุคคลที่ตนนิยมยกย่อง

       กลไกลในการป้องกันตัว เป็นวิธีการที่บุคคลใช้ในการปรับตัว เมื่อประสบปัญหาความคับข้องใจ การใช้กลไกป้องกันจะช่วยยืดเวลาในการแก้ปัญหา เพราะจะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด ความไม่สบายใจ ทำให้คิดหาเหตุผล หรือแก้ไขปัญหาได้

แนวทางการจัดการเรียนรู้ของซิกมันด์ฟรอยด์

 พัฒนาการมนุษย์ตามแนวคิดของฟรอยด์เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เด็กมีการพัฒนาการด้านบุคลิกภาพที่เหมาะสมได้ เพราะหากเด็กผ่านแต่ละวัยมาโดยไม่มีปัญหา ไม่เกิดการชะงักที่วัยใดวัยหนึ่งก็จะโตขึ้นมีบุคลิกภาพที่ปกติ แต่ถ้าเด็กมีปัญหาในแต่ละขั้นของพัฒนาการก็จะมีบุคลิกภาพผิดปกติ เช่น เด็กเกิดการชะงักที่ขั้นปาก ก็จะส่งผลต่อเด็กเมื่อโตขึ้น เช่น สูบบุหรี่ กัดนิ้ว ดูดนิ้ว รับประทานมาก เป็นต้น เราจึงควรมีการเลี้ยงดูที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย

        ในขั้นอวัยวะเพศ เด็กจะมีการแบ่งแยกบุคลิกภาพทางเพศในขั้นนี้ เด็กเริ่มมีการสนในและเรียนรู้เรื่องของแตกต่างด้านเพศ มีความสนใจสอบถามหรือเลียนแบบพฤติกรรม เด็กผู้ชายจะเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อ เด็กผู้หญิงจะเรียนแบบพฤติกรรมของแม่ เพราะฉะนั้นต้องให้ความรู้ด้านเพศที่ถูกต้องแก่เด็ก หากเด็กไม่ได้รับความรู้ที่ถูกต้อง หรือขาดต้นแบบที่ดีอาจทำให้เด็กเกิดการสับสนทางเพศ และโตขึ้นอาจจะเบี่ยงเบนทางเพศได้

        ครูผู้สอนสามารถนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศที่ถูกต้อง เริ่มมีการสอนในเรื่องของบทบาทในสังคมที่ถูกต้อง และในขั้นของเพศครูก็ควรหากิจกรรมเสริมต่างๆ ให้นักเรียนได้ทำ เช่น กิจกรรมกีฬา กิจกรรมดนตรี เป็นต้น เพื่อไม่ให้เด็กหมกมุ่นแต่ในเรื่องเพศ


สรุปแล้วทฤษฎีของฟรอยด์ เป็นทฤษฎีที่มีอิทธิพลมากทั้งทางตรง และทางอ้อม ผู้ที่มีความเชื่อ และเลื่อมใสในทฤษฎีของฟรอยด์ ก็ได้นำหลักการต่างๆ ไปใช้ในการรักษาคนที่มีปัญหาทางบุคลิกภาพ ซึ่งได้ช่วยคนมากว่ากึ่งศตวรรษ ส่วนนักจิตวิทยาที่ไม่ใช้หลักจิตวิเคราะห์ ก็ได้นำความคิดของฟรอยด์ ไปทำงานวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางบุคลิกภาพ จึงนับ  ว่าฟรอยด์เป็นนักจิตวิทยา ผู้มีอิทธิพลมากต่อพัฒนาการของวิชาจิตวิทยา

 ข้อดีของทฤษฎีซิกมันด์ฟรอยด์

      1. จิตวิเคราะห์เป็นทฤษฎีแรกที่เสนอแนวคิดว่าพฤติกรรมของมนุษย์อาจได้รับการกระตุ้นจากแรงผลักดันในระดับจิตไร้สำนึกซึ่งเขาไม่รู้ตัว

       2. แนวคิดของจิตเคราะห์เรื่องประสบการณ์ในวัยเด็กนั้นมีผู้นำไปใช้มากและช่วยกระตุ้นให้มีผู้ทำวิจัยในเรื่องนี้ต่อไป

       3. จิตวิเคราะห์ได้อธิบายถึงสาเหตุของการเกิดความกังวลอย่างละเอียดและอธิบายถึงกระบวนการให้ความช่วยเหลือด้วยกลวิธีต่างๆ

       4. จิตวิเคราะห์เน้นว่า การบำบัดรักษาไม่ใช่การอบรมสั่งสอน

       5. จิตวิเคราะห์เป็นวิธีการที่มีการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับเทคนิคหรือกลวิธีเป็นอย่างมาก

       6. กลวิธีทางจิตวิเคราะห์เหมาะสำหรับบุคคลที่มีปัญหาทางอารมณ์ลึกซึ้ง จะต้องมีการปรับโครงสร้างของบุคลิกภาพใหม่

       7. การให้การปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์เป็นทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการทางจิตอย่างละเอียดลออ ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายแขนง เช่น วรรณคดี ศิลปะ ดนตรี มนุษยวิทยาและสังคมวิทยา


ข้อจำกัดของทฤษฎีซิกมันด์ฟรอยด์

       1. จิตวิเคราะห์มองมนุษย์ในแง่ร้าย โดยคิดว่าธรรมชาติของมนุษย์เป็นสิ่งที่น่าเกลียด มนุษย์เป็นทาสแห่งความต้องการของตนเอง

       2. จิตวิเคราะห์เน้นประสบการณ์ในวัยเด็กมากเกินไป ซึ่งทำให้ดูเหมือนดูถูกว่ามนุษย์ไม่มีความสามารถ ไม่มีความรับผิดชอบต่อชีวิตตนเอง ไม่มีศักดิ์ศรี และไม่มีเสรีภาพ ต้องปล่อยให้ชีวิตเป็นไปตามประสบการณ์ที่ได้รับมา หรือสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลมากเกินกว่าที่จะควบคุมวิถีชีวิตของตนเองได้

       3. จิตวิเคราะห์ไม่ได้ให้เกียรติในความมีเหตุผล หรือการใช้วิจารณญาณของมนุษย์

สรุปความ

       ทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ เน้นการช่วยบุคคลที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์อันเนื่องมาจากประสบการณ์ จุดประสงค์คือ การช่วยให้ผู้รับบริการเข้าใจพฤติกรรมของตนเองทั้งในระดับจิตสำนึกและไร้สำนึก เพื่อจะได้หาทางแก้ปัญหาหรือปรับปรุงตนเอง โดยยึดหลักว่ามนุษย์ไม่จำเป็นต้องตกเป็นทาสของประสบการณ์ในอดีตต่อไป ผู้ให้บริการปรึกษาจะช่วยให้ผู้รับบริการได้ใช้ศักยภาพและแหล่งความช่วยเหลือจากสิ่งแวดล้อมในการปรับตัวและเพิ่มประสิทธิภาพของตนเอง

      ทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบนี้ได้ใช้หลักการของจิตวิเคราะห์ โดยเฉพาะหลักการที่ว่า โดยพื้นฐานแล้วมนุษย์มีแรงผลักดันที่จะแสวงหาความพึงพอใจสู่ตนเอง ซึ่งมนุษย์จะต้องปรับตัวให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการกับสภาพความเป็นจริงและศีลธรรมจรรยาของสังคม ผู้ให้บริการปรึกษามีบทบาทเป็นผู้เชี่ยวชาญในการช่วยให้บุคคลไปสู่ภาวะสมดุลย์และช่วยให้ชนะความอ่อนแอหรือความต้องการของตน ช่วยให้เขาคิดอย่างมีเหตุผล และสำรวจได้ว่า แจงจูงใจในระดับจิตไร้สำนึกของตนคืออะไร คือช่วยให้ผู้รับบริการทราบถึงสาเหตุแห่งการปรับตัวไม่ได้ของเขาซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจตนเอง และนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงความคิด ผู้ให้บริการปรึกษาจะเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการได้ระบายความรู้สึกเก็บกดในวัยเด็กออกมา และแทนที่ด้วยความคิดอย่างมีเหตุผลตามระบบแห่งความเป็นจริง

       ผู้ให้บริการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ จะปรับกระบวนการให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละคน มีทั้งกลวิธีที่แสดงถึงการยอมรับ การเข้าใจความรู้สึกและเนื้อหาบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นมิตร ตลอดจนถึงกลวิธีดึงแรงจูงใจที่อยู่ในระดับจิตไร้สำนึกของผู้รับบริการออกมาให้ปรากฏ

        ผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะในการใช้กลวิธีของจิตวิเคราะห์อาจจะมีข้อจำกัดในการนำกลวิธีเหล่านั้นไปใช้ในการให้บริการปรึกษา แต่หลักการของทฤษฎีจิตวิเคราะห์มีประโยชน์มากในการช่วยให้เข้าใจโครงสร้างของพฤติกรรมและบุคลิกภาพของผู้รับบริการ ทฤษฎีนี้เป็นต้นฉบับในการอธิบายการใช้กลวิธีการป้องกันจิตใจตนเองของบุคคล และพฤติกรรมจิตไร้สำนึก นอกจากนั้นการทำความเข้าใจอดีตของผู้รับบริการจะช่วยให้เข้าวิถีชีวิตของเขา เพื่อจะได้หาทางช่วยผู้รับบริการให้พัฒนาขึ้นด้วยวิธีการอันเหมาะสม



แหล่งข้อมูลอ้างอิง

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/concepts_of_developmental_psychology/01_3.html

https://sites.google.com/a/srp.ac.th/development-theory/thvsdi-phathnakar-tha-ngbukhlk-phaph/thvsdi-cit-wi-kheraah-khxng-f-rxy-d

https://childhood281.blogspot.com/2010/01/blog-post_23.html?fbclid=IwAR2oU0UDCf3LKlavwSke1F41uPb2yoAo9yE6x9d4vuyhEKE39XYII4kvd1s

http://nukjit.blogspot.com/2015/12/blog-post_82.html

https://youtu.be/P58z6EJSmBI

  

ประวัติของซิกมันด์ ฟรอยด์

                                                      ซิกมันด์ ฟรอยด์ ประวัติของซิกมันด์ ฟรอยด์         ซิกมันด์ ฟรอยด์ ( Sigmund Freud)  จิ...