พัฒนาการมนุษย์ตามแนวคิดของฟรอยด์เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เด็กมีการพัฒนาการด้านบุคลิกภาพที่เหมาะสมได้ เพราะหากเด็กผ่านแต่ละวัยมาโดยไม่มีปัญหา ไม่เกิดการชะงักที่วัยใดวัยหนึ่งก็จะโตขึ้นมีบุคลิกภาพที่ปกติ แต่ถ้าเด็กมีปัญหาในแต่ละขั้นของพัฒนาการก็จะมีบุคลิกภาพผิดปกติ เช่น เด็กเกิดการชะงักที่ขั้นปาก ก็จะส่งผลต่อเด็กเมื่อโตขึ้น เช่น สูบบุหรี่ กัดนิ้ว ดูดนิ้ว รับประทานมาก เป็นต้น เราจึงควรมีการเลี้ยงดูที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย
ในขั้นอวัยวะเพศ เด็กจะมีการแบ่งแยกบุคลิกภาพทางเพศในขั้นนี้ เด็กเริ่มมีการสนในและเรียนรู้เรื่องของแตกต่างด้านเพศ มีความสนใจสอบถามหรือเลียนแบบพฤติกรรม เด็กผู้ชายจะเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อ เด็กผู้หญิงจะเรียนแบบพฤติกรรมของแม่ เพราะฉะนั้นต้องให้ความรู้ด้านเพศที่ถูกต้องแก่เด็ก หากเด็กไม่ได้รับความรู้ที่ถูกต้อง หรือขาดต้นแบบที่ดีอาจทำให้เด็กเกิดการสับสนทางเพศ และโตขึ้นอาจจะเบี่ยงเบนทางเพศได้
ครูผู้สอนสามารถนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศที่ถูกต้อง เริ่มมีการสอนในเรื่องของบทบาทในสังคมที่ถูกต้อง และในขั้นของเพศครูก็ควรหากิจกรรมเสริมต่างๆ ให้นักเรียนได้ทำ เช่น กิจกรรมกีฬา กิจกรรมดนตรี เป็นต้น เพื่อไม่ให้เด็กหมกมุ่นแต่ในเรื่องเพศ
ข้อดีของทฤษฎีซิกมันด์ฟรอยด์
1. จิตวิเคราะห์เป็นทฤษฎีแรกที่เสนอแนวคิดว่าพฤติกรรมของมนุษย์อาจได้รับการกระตุ้นจากแรงผลักดันในระดับจิตไร้สำนึกซึ่งเขาไม่รู้ตัว
2. แนวคิดของจิตเคราะห์เรื่องประสบการณ์ในวัยเด็กนั้นมีผู้นำไปใช้มากและช่วยกระตุ้นให้มีผู้ทำวิจัยในเรื่องนี้ต่อไป
3. จิตวิเคราะห์ได้อธิบายถึงสาเหตุของการเกิดความกังวลอย่างละเอียดและอธิบายถึงกระบวนการให้ความช่วยเหลือด้วยกลวิธีต่างๆ
4. จิตวิเคราะห์เน้นว่า การบำบัดรักษาไม่ใช่การอบรมสั่งสอน
5. จิตวิเคราะห์เป็นวิธีการที่มีการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับเทคนิคหรือกลวิธีเป็นอย่างมาก
6. กลวิธีทางจิตวิเคราะห์เหมาะสำหรับบุคคลที่มีปัญหาทางอารมณ์ลึกซึ้ง จะต้องมีการปรับโครงสร้างของบุคลิกภาพใหม่
7. การให้การปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์เป็นทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการทางจิตอย่างละเอียดลออ ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายแขนง เช่น วรรณคดี ศิลปะ ดนตรี มนุษยวิทยาและสังคมวิทยา
ข้อจำกัดของทฤษฎีซิกมันด์ฟรอยด์
1. จิตวิเคราะห์มองมนุษย์ในแง่ร้าย โดยคิดว่าธรรมชาติของมนุษย์เป็นสิ่งที่น่าเกลียด มนุษย์เป็นทาสแห่งความต้องการของตนเอง
2. จิตวิเคราะห์เน้นประสบการณ์ในวัยเด็กมากเกินไป ซึ่งทำให้ดูเหมือนดูถูกว่ามนุษย์ไม่มีความสามารถ ไม่มีความรับผิดชอบต่อชีวิตตนเอง ไม่มีศักดิ์ศรี และไม่มีเสรีภาพ ต้องปล่อยให้ชีวิตเป็นไปตามประสบการณ์ที่ได้รับมา หรือสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลมากเกินกว่าที่จะควบคุมวิถีชีวิตของตนเองได้
3. จิตวิเคราะห์ไม่ได้ให้เกียรติในความมีเหตุผล หรือการใช้วิจารณญาณของมนุษย์
สรุปความ
ทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ เน้นการช่วยบุคคลที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์อันเนื่องมาจากประสบการณ์ จุดประสงค์คือ การช่วยให้ผู้รับบริการเข้าใจพฤติกรรมของตนเองทั้งในระดับจิตสำนึกและไร้สำนึก เพื่อจะได้หาทางแก้ปัญหาหรือปรับปรุงตนเอง โดยยึดหลักว่ามนุษย์ไม่จำเป็นต้องตกเป็นทาสของประสบการณ์ในอดีตต่อไป ผู้ให้บริการปรึกษาจะช่วยให้ผู้รับบริการได้ใช้ศักยภาพและแหล่งความช่วยเหลือจากสิ่งแวดล้อมในการปรับตัวและเพิ่มประสิทธิภาพของตนเอง
ทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบนี้ได้ใช้หลักการของจิตวิเคราะห์ โดยเฉพาะหลักการที่ว่า โดยพื้นฐานแล้วมนุษย์มีแรงผลักดันที่จะแสวงหาความพึงพอใจสู่ตนเอง ซึ่งมนุษย์จะต้องปรับตัวให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการกับสภาพความเป็นจริงและศีลธรรมจรรยาของสังคม ผู้ให้บริการปรึกษามีบทบาทเป็นผู้เชี่ยวชาญในการช่วยให้บุคคลไปสู่ภาวะสมดุลย์และช่วยให้ชนะความอ่อนแอหรือความต้องการของตน ช่วยให้เขาคิดอย่างมีเหตุผล และสำรวจได้ว่า แจงจูงใจในระดับจิตไร้สำนึกของตนคืออะไร คือช่วยให้ผู้รับบริการทราบถึงสาเหตุแห่งการปรับตัวไม่ได้ของเขาซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจตนเอง และนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงความคิด ผู้ให้บริการปรึกษาจะเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการได้ระบายความรู้สึกเก็บกดในวัยเด็กออกมา และแทนที่ด้วยความคิดอย่างมีเหตุผลตามระบบแห่งความเป็นจริง
ผู้ให้บริการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ จะปรับกระบวนการให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละคน มีทั้งกลวิธีที่แสดงถึงการยอมรับ การเข้าใจความรู้สึกและเนื้อหาบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นมิตร ตลอดจนถึงกลวิธีดึงแรงจูงใจที่อยู่ในระดับจิตไร้สำนึกของผู้รับบริการออกมาให้ปรากฏ
ผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะในการใช้กลวิธีของจิตวิเคราะห์อาจจะมีข้อจำกัดในการนำกลวิธีเหล่านั้นไปใช้ในการให้บริการปรึกษา แต่หลักการของทฤษฎีจิตวิเคราะห์มีประโยชน์มากในการช่วยให้เข้าใจโครงสร้างของพฤติกรรมและบุคลิกภาพของผู้รับบริการ ทฤษฎีนี้เป็นต้นฉบับในการอธิบายการใช้กลวิธีการป้องกันจิตใจตนเองของบุคคล และพฤติกรรมจิตไร้สำนึก นอกจากนั้นการทำความเข้าใจอดีตของผู้รับบริการจะช่วยให้เข้าวิถีชีวิตของเขา เพื่อจะได้หาทางช่วยผู้รับบริการให้พัฒนาขึ้นด้วยวิธีการอันเหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น